banner
 
   แผงพระดอทคอม
เจดีย์
 
โฆษณา
 
หนึ่งในคณาจารย์ของ
พระอาจารย์ติ๋ว
หลวงปู่สี
หลวงปู่สี
อาจารย์ก้าน
อาจารย์ก้าน
หลวงพ่อมหาโพธิ์
หลวงพ่อมหาโพธิ์
 
 
วัดมณีชลขัณฑ์
     ท่านสามารถเดินทางไปที่วัดได้ง่ายไม่ยุ่งยากเพราะว่า วัดมณีชลขัณฑ์นั้นอยู่ในตัวเภอเมือง หาได้ไม่ยากจริงๆ ครับ วัดมณีชลขัณฑ์เป็น
วัดเก่าแก่มาตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นที่เดียวครับ
     วัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ในตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
     พระอาจารย์ธรรมนูญ ฐิตวฑฺฒโน (อาจารย์ติ๋ว ) วัดมณีชลขัณฑ์
     พระอาจารย์ธรรมนูญ ฐิตวฑฺมโน ท่านเป็นชาวตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๐๒ โยมบิดาชื่อ
บุญนาค โยมมารดาชื่อประไพ นามสกุลเกิดภู่ มีพี่น้องรวม ๘ คน จบการศึกษาในระดับมัธยมต้น ที่โรงเรียนค่ายนารายณ์ ขณะที่ท่านเรียน
หนังสืออยู่ชั้นประถม ๗ นั้น ท่านได้ยินได้ฟังผู้ใหญ่เขาพูดถึงเรื่องพุทธาคม เวทย์มนต์คาถา ได้เกิดความกระตือรือร้นอยากจะเรียนทางด้าน
เวทย์มนต์คาถา ระหว่างนั้นท่านได้ไปเรียนวิชาต่างๆ จากกำนันยอด เหมือนพันธุ์ ฆราวาสขมังเวทย์ท่านหนึ่งของเมืองลพบุรี วิชาที่ท่าน
ได้เรียนนั้นคือ มูลกัจจายน์ ศึกษาอักขระเลขยันต์ การลงตะกรุด วิชาลบผงอิทธเจ ผงไตรสรณาคม ผงนะกอดกัน ผงนะรำพึง นอกจากนั้น
กำนันยังฝากให้ท่านพระอาจารย์ธรรมนูญไปเรียนวิชาต่อจาก หมอเหม็ง ร่ำเรียนวิชาด้านวิชาถอนคุณไสย วิชาทำน้ำมัน เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๖
ต่อจากนั้นอีกสองปีท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเทพกุญชรวราราม มีพระครูมงคลภาณี (หลวงพ่อมัง) เป็นพระอุปัชฌาย์ในระหว่างที่
เป็นสามเณรท่านก็ยังสนใจในเรื่องเวทย์มนต์คาถา ท่านได้ไป หลวงพ่อพระสมุห์ดำ สุคโต วัดเสาธงทอง ศิษย์เอกของหลวงปู่จันทร์ แห่ง
วัดนางหนู โดยไปหาท่านทุกวันไปช่วยลงตะกรุด ช่วยจารอักขระขอม หลวงพ่อดำท่านเห็นในความพยายามจึงได้แนะนำแนวทางศึกษาให้
หลวงพ่อดำกล่าวว่า การเรียนวิชาคาถาอาคมเพียงอย่างเดียวไม่ก่อให้เกิดอำนาจได้อย่างจริงจัง ต้องหนุนพลังด้วยกรรมฐาน จึงได้แนะนำ
อาจารย์ธรรมนูญ ไปหาหลวงปู่ดู่ วัดสะแก พระอาจารย์จึงเดินทางไปหาหลวงปู่ดู่ ด้วยความเมตาของหลวงปู่ท่านได้ให้สอนการฝึกวิปัสสนา
กรรมฐาน กับอาจารย์ธรรมนูญจนมีความชำนาญ ณ วัดสะแกนี้เองที่พระอาจารย์ได้รู้จักกับ หลวงปู่สี สุดยอดปรมจารย์แห่งการสร้างพระ
พรหม ผู้เป็นสหธรรมมิกกับพระอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายท่านอาจารย์ธรรมนูญต้องใช้ความเพียรพยายามนับสิบๆ ครั้งจึงได้
รับการถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงปู่สี ต่อจากนั้นท่านยังไปฝากตัวเรียนวิชาถอนพิษงูจากหลวงพ่อเปีย ทำให้ท่านได้ทราบว่าวิชานี้
เป็นของท่านอาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง แต่อาจารย์ก็มิทันได้ไปเรียนเพราะอาจารย์ฟ้อน ได้เสียไปแล้วจึงเดินทางไปหาหลวงพ่อหนู วัดบึงพระ
ท่านอาจารย์ร่ำเรียนสรรพวิชาต่างๆ มากมายนอกจากนั้นยังได้รับการแนะนำให้ไปเรียนกับ หมอประยูร จิตโสภี และครูเอื้อ บุษปะเกษ
หงสกุล
พออายุ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทต่อเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดมณีชลขัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มีพระครูมงคลภาณี (หลวงพ่อมัง)
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินิยาภิรัต (หลวงพ่อถมยา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูพรหมจริยาทร (หลวงพ่อพรหมา) วัดมณีชลขันธ์เป็น
พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ฐิตวฑฺฒโน บวชเสร็จแล้วท่านได้มาจำพรรษาที่วัดมณีชลขันธ์แห่งนี้เลยจะกลับไปวัดเทพกุญชรวรามบ้าง
เป็นระยะ ทั้งนี้เพื่อไปอยู่ปรนนิบัตรท่านพระอุปัชฌาย์ของท่านจนกระทั่งหลวงพ่อมังท่านได้มรณภาพลง ช่วงที่จำพรรษาอยู่ที่วัดมณีชลขันธ์
นั้นท่านได้ศึกษาจนจบนักธรรมเอก แต่ยังสนใจในวิชาคาถาอาคมอยู่บังเอิญได้รู้จักกับ นายก้าน บำรุงกิจ น้องแท้ของหลวงปู่สี และได้ร่ำ
เรียนวิชาการสร้างพรหม แหวนปลอกมีด และผ้ายันต์ต่างๆ นายก้านหรืออาจารย์ก้านท่านนี้ไม่ธรรมดาเพราะท่านได้รับการถ่ายทอดวิชา
จากท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ เท่านั้นไม่พอยังได้ศึกษาตำรับตำราของหลวงปู่สีผู้เป็นพระพี่ชายอีกด้วย
วัดมณีชลขัณฑ์   อาจารย์ติ๋ว
วัดมณีชลขัณฑ์
 
พระอาจารย์ติ๋วกับพระหรหมมุนียศขณะนั้น

     พ.ศ.๒๕๒๗ อาจารย์ติ๋วเดินทางไปกราบเรียนวิชาจากหลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ ซึ่งเป็นหลานหลวงพ่อยัง วัดหนองน้อย ท่านเป็น
ลูกศิษย์สายตรงของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ต่อจากนั้นได้เดินทางไปเรียนเพิ่มเติมกับอาจารย์ทัน รุจิเรข และอาจารย์พิศาล
ชวนะ ด้านคงกระพันชาตรี นอกจากนี้อาจารย์ธรรมนูญยังได้ไปฝากตัวเรียนวิชากับ อาจารย์แดง (พิทยา ปะทีปะเสน) ผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ
อาจารย์อยู่ เรือลอย ลูกศิษย์สายตรงของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งอาจารย์แดงท่านนี้ยังเป็นหลานของหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
     ทั้งหมดทั้งปวงที่อาจารย์ธรรมนูญไปเล่าเรียนมานั้น ถูกชี้แนะในข้อติดขัดต่างๆ จนทะลุปุโปร่งโดย อาจารย์เทพ สาริกบุตร ผู้ชี้ทางสว่าง
และยังได้แนะนำวิชาคาถาอาคมต่างๆ อีกมากมายให้กับท่านอาจารย์ธรรมนูญจนท่านยอมรับว่าอาจารย์เทพ สาริกบุตร เป็นผู้มีพระคุณต่อ
ท่านมากท่านหนึ่ง ต่อจากนั้นอาจารย์ธรรมนูญ (ติ๋ว) ก็มิได้ขวนขวายไปร่ำเรียนวิชากับพระอาจารย์ท่านใดอย่างจริงจัง ท่านมุ่งหน้าปฏิบัติ
ธรรมภาวนา และการนั่งวิปัสสนากรรมฐานเป็นหลัก
     ต่อมาท่านได้รับความไว้วางใจจากเจ้าอาวาสให้ดูแลบริหารงานปกครอง และได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นพระกรรมวาจารย์ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๐
     พ.ศ.๒๕๔๓ ได้รับบัญชาจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ ให้ขึ้นเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส  ปีต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งเป็น 
พระครูวินัยธร ฐานานุกรมของพระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวรฯ จากนั้นได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวิมลญาณอุดม
     พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ที่ชื่อเดิมคือ พระครูวิมลญาณอุดมตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมณีชลขันธ์
     พ.ศ.๒๕๖๐ ได้รับพัดยศสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก (วิ) ผู้ช่วยพระอารามหลวงชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
     จากประวัติที่ได้กล่าวมาข้างต้นคงพอจะให้ท่านทั้งหลายที่ได้อ่านจบคงพอตัดสินใจได้ว่า ถ้าเราจะหาพระที่สามารถกราบไหว้ได้อย่าง
สนิทใจก็ยังพอมีอยู่บ้างครับ
 
อาจารย์ติ๋ว   อาจารย์ติ๋ว   อาจารย์ติ๋ว   อาจารย์ติ๋ว
ภาพตัวอย่าง วัตถุมงคล
 
ภาพตัวอย่าง วัตถุมงคล
อาจารย์ติ๋ว   อาจารย์ติ๋ว   อาจารย์ติ๋ว   อาจารย์ติ๋ว
ตัวอย่างภาพวัตถุมงคลที่พระอาจารย์ติ๋วออกในวาระต่างๆ
 
งานบริการ
  ทำป้าย/งานรับเหมา
  รถยนต์เช่า/ขนย้ายของ
  เต้นท์รถยนต์
  อู่ซ่อมรถมาตรฐาน
  ร้านอาหารอร่อย
  สัตว์เลี้ยง/โรงพยาบาลสัตว์

.
 
 
 
 
 
 

Home | Contact Us | Copyright© 2007-2018 www.phangpra.com All rights reserved